บทที่ 1 เป้าหมายโครงการ


1.1เป้าหมายโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (FUNCTION GOAL)

          การศึกษาเป้าหมายโครงการด้านหน้าที่การใช้สอย จะศึกษากลุ่มเป้าหมายโครงการประเภทต่างๆ ตลอดจนองค์ประกอบโครงการ และพื้นที่ใช้สอยโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบโครงการเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กันในทุกๆด้าน


1.1.1                     กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการ(User Target group)
1.              กลุ่มผู้ใช้โครงการ

-                   กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก (Main User)
กลุ่มผู้ใช้โครงการหลักได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจเรียนรู้เรื่องผ้าทอจากธรรมชาติภายในประเทศ และสนใจการออกแบบผ้าไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพผ้าทอไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล 

รูป 1.1 แสดงลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนนักศึกษา


รุป 1.2 แสดงลักษณะกลุ่มเป้าหมายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

-กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง (Sub User)
บุคคลทั่วไปที่เข้ามาชมนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ชาวต่างชาติ ที่ให้ความสนใจและต้องการที่จะเรียนรู้ในเรื่องผ้าทอภายในประเทศไทยรวมถึงแฟชั่นผ้าทอ


รูป 1.3 บุคคลทั่วไปที่สนใจ


รุป 1.4 ชาวต่างชาติที่มีความสนใจ





-กลุ่มผู้บริหารและพนักงานโครงการ (Administrators and Staffs)
กลุ่มผุ้บริหารและพนักงานในโครงการได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการทุกระดับจนไปถึงพนักงานส่วนต่างๆของโครงการ พนักงานซ่อมบำรุง ผู้ควบคุมในส่วนงานระบบ แม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโครงการ








รูป 1.6 ผู้บริหาร


รูป 1.7 เจ้าหน้าที่/พนักงานที่ประจำพิพิธภัณฑ์


ปริมาณผู้ใช้โครงการในอีก 5 ปีข้างหน้า  =  1,950 คนต่อวัน
พื้นที่พิพิธภัณฑ์ต่อคนโดยเฉลี่ย คือ 12.4 คนต่อตารางเมตร
ขนาดพื้นที่ใช้สอยโครงการ                      = 1,950*12.4
= 24,180ตารางเมตร

เวลาเปิด ปิดบริการของพิพิธภัณฑ์  6 ชั่วโมงตั้งแต่ 10.00-16.00น.
เวลาเฉลี่ยของการเดิมชมพิพิธภัณฑ์ประมาณสามชั่วโมงต่อคน
แบ่งกลุ่มเข้าชมได้ 2 ช่วง                                =  1,950/2
  =   975          คนต่อหนึ่งช่วงเวลา
ขนาดพื้นที่ใช้สอยโครงการ แต่ละช่วงเวลา    = 975*12.4

=12,100 ตารางเมตร


1.1.1                     เป้าหมายองค์ประกอบโครงการและพื้นที่ใช้สอยโครงการ
(Functional Component and Area Requirement)

1.องค์ประกอบโครงการ (Functional Component)
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แฟชั่นผ้าทอแห่งประเทศไทย ซึ่งเป้นโครงการประเภทพิพิธภัณฑ์กึ่งศูนย์การเรียนรู้ ก้จะมีองค์ประกอบของโครงการต่างๆด้วยกันดังนี้
1.ส่วนบริหารโครงการ (ADMIN ZONE)
2.ส่วนนิทรรศการโชว์ผลงาน EXHIBITION ZONE
3.ส่วนการเรียนรู้ EDUCATION ZONE 
4.ส่วนสนับสนุนโครงการ Support ZONE
5.ส่วนสาธารณะ Public ZONE
6. ส่วนบริการอาคาร service ZONE
7.ส่วนจอดรถ CAR park 
1.ส่วนบริหารโครงการ(ADMIN ZONE)
ส่วนบริหาร ทำหน้าที่บริหารพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ให้ดำเนินงานได้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ทั้งในแง่ของการรวบรวมผลงานเพื่อการจัดแสดง ด้านการเรียนรู้/การศึกษา การติดต่อประสานงานทั้งภายนอกและภายในสถาบัน การบริหารงานด้านเศราบศาสตร์ และการให้บริการในส่วนต่างๆแก่ผู้ที่มาติดต่อหรือผู้ที่มาดำเนินการกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้
1.ส่วนบริหาร เป้นส่วนที่ทำหน้าที่ดำเนินงานทางด้านการบริหารโครงการ ประกอบด้วย
- ผุ้อำนวยการ
2.ส่วนที่สนับสนุนฝ่ายบริหาร คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ดำเนินงานตามส่วนบริหารให้เป้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามจุดประสงค์ของโครงการที่ได้ตั้งเอาไว้ ประกอบไปด้วย
-แผนกประชาสัมพันธ์
-แผนกเจ้าหน้าที่ด้านการให้ความรู้

2.ส่วนนิทรรศการโชว์ผลงาน EXHIBITION ZONE

ส่วนนิทรรศการโชว์ผลงานของพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ จะเป็นองค์ประกอบหลักของโครงการซึ่งจะแบ่งเป้นหลานโซนนิทรรศการย่อยๆด้วยกันประกอบด้วย
- นิทรรศการถาวร แสดงประวัติ เป็นโซนที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป้นมาของผ้าทอภายในประเทศ จัดแสดงเรื่องราว อดีต-ปัจจุบัน-อนาคตลักษณะของนิทรรศการจะเป็นนิทรรศการที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้าย
 - นิทรรศการชั่วคร่าว แบ่งตามชนิดผ้า เป็นโซนที่มีการจัดแสดงนิทรรสการ และผลงานแบ่งตามชนดาของผ้าแตกต่างกันออกไป มีการจัดแสดงเนื้อหาที่แปลกใหม่น่าสนใจอาจจะมีการเปลี่ยนผลงานที่จัดแสดงในทุกๆ1-2เดือนเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการรับชม
          -นิทรรศการชั่วคร่าวพิเศษ เป้นโซนที่มีไว้สำหรับจัดแสดงนิทรรศการผลงานของคนไทยที่อาจจะผ่านการประกวดจากงานต่างๆซึ่งจะหมุนเวียนเปลี่ยนชิ้นงานไปเรื่อยๆ



 รูปที่2.1 ส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร









รุปที่2.2 นิทรรศการชั่วคร่าว แบ่งตามชนิดผ้า





รุปที่2.3 นิทรรศการชั่วคร่าวพิเศษ




3.ส่วนการเรียนรู้ EDUCATION ZONE
 
ส่วนการเรียนรู้จะเป็นส่วนห้องเรียนต่างๆทางด้านศึกษาเกี่ยวกับผ้าทอชนิดต่างๆ รวมกระทั่งด้านแฟชั่นผ้าทอ ซึ่งแยดตามการดำเนินกิจกรรม อีกทั่งยังมีห้องสมุดที่ให้ความรู้เกี่ยวกับผ้า และส่วนของการจัดแสดงงาน Fashion show

-Auditorium  ใช้เป็นห้องที่มีไว้สำหรับการจัดประชุม หรือ การสัมมนาต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องของผ้าทอ แฟชั่นผ้าทอ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-Classroom   จะแบ่งเป็นห้องหลายห้องที่ให้ความรุ้ในแต่ละด้าน ได้แก่
ส่วนห้องบรรยายทางทฤษฏี
ส่วนห้องปฏิบัติทางด้านการออกแบบ
ส่วนห้องปฏิบัติด้านการตัดเย็บ
-Libraryand multimedia จะเป็นโซนที่เป็นแหล่งที่ให้ความรุ้ในด้านสื่อใหม่ๆหลายชนิดที่เกี่ยวกับข่าวสารทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ     internet เป็นต้น
-Fashion show  เป็นส่วนของการจัดแสดงผลงานของนักเรียนนักศึกษา บุคคลทั่วไป หรืออาจจะมีการจัดแสดงประกวดแข่งขันเนื่องในโอกาสต่างๆ ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้จะเป็นพื้นที่ที่สามารถประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของผ้าทอ และแฟชั่นผ้าทอภายในประเทศให้คนต่างชาติสามรับรู้ถึง ว่ามีศักยภาพ และการเจริญเติบโตของประเทศไทยได้


                                   รุปที่3.1Auditorium







 รุปที่3.2Classroom



รุปที่3.3Library and multimedia



รุปที่3.4Fashion show


4.ส่วนสนับสนุนโครงการ Support ZONE
ส่วนสนับสนุนโครงการ คือ ส่วนที่เสริมที่ทำให้โครงการมีความสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนที่มีพื้นที่รองรับบุคคลภายนอกเป็นหลัก ซึ่งบุคคลภายนอกสามารถเข้ามาใช้ร่วมกับผู้ใช้โครงการหลักได้โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย
-Showroom
-Resterrent
-Retial shop




รุปที่4.1Showroom



รุปที่4.2Resterrent





รุปที่4.3Retial shop


5.ส่วนสาธารณะPublic ZONE
ส่วนสาธารณะของโครงการ คือส่วนที่เชื่อมระหว่างองค์ประกอบต่างๆภายในโครงการ ในรูปแบบของพื้นที่ว่าง หรือพื้นที่เอนกประสงค์ โถงทางเข้าโครงการ(Lobby) ลานอเนกประสงค์ (Multimedia)ส่วนพักคอย( Waiting Area)
การจัดวาง และการออกแบบพื้นที่นี้ควรจะออกแบบให้มีประสิทธิภาพ ในแง่ของการเชื่อต่อฟังก์ชั่นสำคัญต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งในส่วนของความต้องการที่ให้พื้นที่ความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน หรือการทำให้ฟังก์ชั่นไม่ให้มีความสัมพันธ์ และตัดขาดออกจากกัน

รุปที่5.1โถงทางเข้า และส่วนพักคอย



6.ส่วนบริการอาคาร
ส่วนบริการอาคาร คือส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการในแง่ของการบำรุงรักษาอาคาร และการควบคุมงานระบบภายในโครงการ รวมถึงการดุแลความเรียบร้อยต่างๆภายในโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.             ส่วนพื้นที่ปฏิบัติการ ของงานระบบ
2.             ส่วนพื้นที่ที่สำหรับพนักงานฝ่ายบริการอาคาร
ดังนั้นพื้นที่ของส่วนบริการอาคาร(ServiceZone)ควรมีพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากส่วนต่างๆของโครงการอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้ผู้ที่ดำเน้นกิจกกรมภายในส่วนต่างๆของโครงการมาปะปนกับส่วนบริหารอาคาร แต่จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกันแง่ของประโยชน์ใช้สอยโดยส่วนบริการจะต้องสามารถให้บริการแก่ส่วนต่างๆของโครงการได้เป็นไปอย่างสะดวก และรวดเร็ว
7.ส่วนจอดรถ (Parking Zone)
ส่วนจอดรถ คือ ส่วนที่ใช้รองรับยานพาหนะของผุ้ที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมภายในโครงการในรูปแบบต่างๆ
ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในการออกแบบ จึงแยกที่จอดรถออกจากองค์ประกอบอื่นๆบางโครงการอาจแยกที่จอดรถเป็นดังนี้
-ที่จอดรถสำหรับผุ้มาดำเนินกิจกรรมภายในโครงการโดยตรง (public parking zone)
-ที่จอดรถสำหรับฝ่ายบริหารโครงการ(servince parking zone)
-ที่จอดรถสำหรับฝ่ายบริหารโครงการ(serviceparking zone)
การออกแบบพื้นที่จอดรถนี้มีความสัมพันธ์กับประเภทของพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการ การเข้าถึงโครงการ การจำกัดของเนื้อที่โครงการ



2.พื้นที่โครงการ (Area requirement)
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย เป็นโครงการประเภทอนุรักษ์และให้ความรู้ ดังนั้นการกำหนดพื้นที่ใช้สอยของโครงการจึงมาจากกรณีศึกษาดังนี้
เมื่อคิดตามอัตราการเพิ่มของจำนวนผุ้ใช้โครงการหลักในอัตราร้อยละ
ตารางขนาดพื้นที่ใช้สอยโครงการจากจำนวนผุ้ใช้สอยโครงการแต่ละวัน

ประเภทโครงการ
พื้นที่ต่อคน
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้
12.5
ที่มา อ้างอิงจากหนังสือการจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรม โดย ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ และ ดร.อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์

กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการหลัก     คน
สัดส่วนระหว่างกลุ่มเป้าหมายผุ้ใช้โครงการหลักกับพื้นที่โครงการ 1 :12.5
ดังนั้นพื้นที่ตั้งโครงการจะมีปริมาณ       ตารางเมตร
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย จะมีพื้นที่ตั้งโครงการประมาณ       ตารางเมตร

1.1       เป้าหมายโครงการทางด้านรุปแบบ (FORM GOALS)
ประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย ดังนี้
1.การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ
2การกำหนดขนาดที่ตั้งโครงการ
3.              เป้าหมายจินตนภาพโครงการ
1.1.1                   การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ
เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย มีจุดประสงค์หลักเพื่ออนุรักษ์ผ้าทอภายในประเทศ ส่งเสริมผ้าทอไทยให้เป็นสากล ส่งเสริมความรู้แก่ผุ้ที่สนใจในเรื่องแฟชั่นผ้าทอ และใช้เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานเกี่ยวกับผ้าของนักศึกษา และบุคคลทั่วไป
     ดังนั้นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย จึงเป็นศูนย์กลางทางด้านแฟชั่นผ้าทอของภายในประเทศไทยทั้งด้านการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง และการจัดแสดงผลงาน  ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เพียบพร้อมไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมโครงการทั้งทางด้านการสัญจร มุมมอง สภาพแวดล้อม  ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ควรอยู่ในแหล่งที่มีการใช้ประโยชน์ประโยชน์ที่ดินที่สนับสนุนโครงการ

                      การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการ
-ในระดับ ภาค
ภาคกลาง  เป็นภาคที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับเป็นที่ตั้งโครงการ โดยมีเหตุผลในการสนับสนุนในการเลือก ที่ตั้งโครงการดังนี้





การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการ
-ในระดับจังหวัด
จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับเป็นที่ตั้งโครงการ โดยมีเหตุผลในการสนับสนุนในการเลือก ที่ตั้งโครงการดังนี้














ราคาที่ดิน
1.     เขตห้วยขวาง
ราคาที่ดิน ตารางวาละ        บาท
2.     เขตปทุมวัน
ราคาที่ดิน ตารางวาละ        บาท












ตาราง 1.1สรุปความสำคัญของเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ






ผลที่ได้คือที่ตั้ง  02  สามย่าน เขตปทุมวัน

ราคาที่ดิน ตารางวาละ      บาท
เป็นทำเลที่ตั้งที่มีลักษณะการใช้ที่ดินเป็นย่านธุรกิจ และความเจริญ เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจการค้า และความรู้
มีรถไฟฟ้า BTS ตลอดทั้งสาย

ที่ตั้งโครงการ(Site) บริเวณแยกหัวมุมสามย่าน ติดคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขนาดที่ดิน จำนวน 5 ไร่ หรือ 8400 ตร.ม.

ตาราง 1.2 สรุปความสำคัญของเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงกา


-ที่ตั้งโครงการ (Site) 02  สามย่าน เขตปทุมวัน







1.1.1   การกำหนดขนาดที่ตั้งโครงการ (Size of the Proposed Site)
การพิจารณาการหาพื้นที่โครงการเบื้องต้นมีตามขั้นตอนดังนี้
1.พื้นที่ใช้สอยโครงการประมาณ     ตารางเมตร
2.คำนวณหาพื้นที่ตั้งที่เหมาะสมจาการคำนวณสัดส่วนพื้นที่ตั้งโครงการต่อพื้นที่ก่อสร้างโครงการ
(F.A.R. = Site Area: Building Area) ตามประเภทโครงการ
กำหนดสัดส่วน F.A.R. ตามประเภทของสถาปัตยกรรมการออกแบบของอาคาร = 1:10



1.2.3เป้าหมายจินตนภาพโครงการ

1. กิจกรรมและหน้าที่ใช้สอย (Activity and Function)
            โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทยจะเป็นกลุ่มอาคารทางสถาปัตยกรรม ที่มีการกำหนดความสัมพันธ์ที่ว่างทั้งภายใน และภายนอกอาคารอย่างชัดเจน เพื่อที่จะให้โครงการเป็นพื้นที่ ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ผ้าทอ ให้ความรู้ แสดงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ตามจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ตน
2.ผู้ใช้โครงการ (User)
            กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการหลัก จะเป็นผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 15-  30 ปี เป็นส่วนใหญ่  จึงจะต้องมีความทันสมัย สามรถสื่อให้คนภายนอกได้รับรู้ว่านี้คือพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ
3.ยุคสมัย และสไตล์ตามเวลาที่โครงการนั้นเกิดขึ้น (Time Period and style)
            รูปแบบลักษณะของโครงการทางด้านสถาปัตยกรรม จะมีลักษณะที่สามารถสื่อให้เห็น บ่งบอกถึงความทันสมัย รวมกับความเป็นสากล ซึ่งสถาปัตยกรรมของโครงการจะมีลักษณะตอบสนองถึงความมีศิลปะของผ้าทออย่างชัดเจน ไม่ว่าเวลา หรือยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด ก็ยังจะมีความล้ำสมัยอยู่เช่นเดิม
4.ที่ตั้งและสภาพแวดคล้องของโครงการ (Site and Enviornment)
            ทางด้านสภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการโดยรอบจะมีกิจกรรม หรือสถานที่ต่างๆคอยสนับสนุนโครงการ เช่น ศูนย์การค้าที่เป็นแหล่งแฟชั่น และรวบรวมนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป , สถานศึกษา , โรงแรมที่เป็นศูนย์รวมของคนต่างชาติ  และเนื่องจากที่ตั้งโครงการตั้งอยุ่ ในทำเลใกล้หัวมุมสามย่าน จึงทำให้มีมุมมองที่ดีทั้งจากภายในของอาคาร สู่ภายนอกโครงการ และภายนอกเข้าสู่ภายในโครงการ




เป้าหมายโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economy goals)
1.3.1 เงินทุนโครงการ  (Source of Investment)
-เป็นโครงการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ ภาคใต้กระทรวงอุตสาหกรรม
1.3.2งบประมาณเบื้องต้น (Initial Budget)
-ราคาค่าก่อสร้าง (Building cost) ตารางเมตรละ 15,000 บาท
พื้นที่ใช้สอยอาคารโดยประมาณ           14750   ตารางเมตร
ราคาค่าก่อสร้าง   15,000 * 14,750   = 221,250,000  บาท
-ราคาที่ดิน                                      =      บาท/ตารางวา
ราคาที่ดิน
-ราคาปรับปรุงที่ดิน                            บาท/ไร่
พื้นที่ก่อสร้างโดยประมาณ                       ไร่
ราคาปรับปรุงที่ดิน                             =                       บาท
ค่าดำเนินการก่อสร้าง 20%                           =




*อ้างอิงจาก หนังสือการจัดทำโครงการทางด้านสถาปัตยกรรม โดย  ดร.นฤพนธ์  ไชยยศ   และ ดร.อวิรุท์  เจริญทรัพย์


รวมงบประมาณการก่อสร้างเบื้องต้น

+  +     =


ตารางที่ 1.7 แสดงรายละเอียดของงบประมาณการก่อสร้างเบื้องต้นของโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย

ราคาค่าก่อสร้าง
อัตราการคำนวน
ราคา
1.     ราคาค่าก่อสร้าง
2.     ราคาที่ดิน
3.     ค่าปรับปรุงที่ดิน


4.     ค่าดำเนินการ


รวมงบประมาณเบื้องต้น



1.3.3  ผลตอบแทนทางการเงิน  Financial Prospect
        รายได้หลักของโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย จะได้มาจากส่วนบัตรผ่านผู้ข้าชมงาน ,ร้านค้าภายในโครงการ,การเช่าสถานที่จัดแสดงผลงาน,การขายการออกแบบของนักศึกษา และบุคคลทั่วไป  และค่าทำนุบำรุงสถานที่จะได้จากงบประมาณของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
1.3.4 ผลตอบแทนทางสังคม Social Benefits
1. ส่งเสริมผ้าทอไทย และสร้าง Image ที่ดีขึ้นให้กับผ้าทอไทยให้มีชื่อเสียงระดับสากล
2.ให้ความรุ้ แก่ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องแฟชั่นผ้าทอแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
3.ส่งเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียน นักศึกษา ไทย ที่มีความสนใจในเรื่องการออกแบบผ้าทอไทย ให้มีชื่อเสียงในระดับสากล
4.ให้นักลงทุนชาวต่างชาติที่มีความสนใจในเรื่องธุรกิจผ้าทอ มีความสนใจในผ้าทอไทย
5.อนุรํษก์ปลุกฝังให้เยาวชนคนไทยมีความรุ้ทางด้านผ้าของไทย ไม่ให้สูญหายไป

1.4เป้าหมายโครงการทางด้านเทคโนโลยี (Technology goal)

1.4.1 เป้าหมายเทคโนโลยีอาคาร

1. Structure ใช้เป็นระบบโครงสร้างอาคารแบบpostenion และโครงสร้างเล็ก เพื่อความรวดเร็วในการก่อสร้าง  และประหยัดเวลา
2.Air condition มีการระบบประบอากาศทั้งสองระบบเดียวกัน คือ ทั้งระบบsprit type และระบบ water chililer type ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่ เพื่อการประหยัดพลังงาน
3.Electric system เป็นระบบการใช้ไฟฟ้ากำลัง (Power Supply System)แระบบไฟฟ้าสำรอง ฉุกเฉิน (Emergency System)
4.Sound Control มีการใช้วัสดุกั้นเสียง เพ่อลดปริมาณเสียง และเสียงสะท้อนที่จะรบกวนในส่วนของห้องแสดงนิทรรศการ ห้องเรียน ห้องสมุด และส่วนต่างๆที่ไม่อยากให้มีเสียงรบกวน
5.Emergency control อาคารมีระบบควบคุม และสัยญานเตือนภัย อัคคีภัย อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Heat Detector อุปกรณืตรวจจับควัน Smoke Detector และอุปกรณืตรวจจับเปลวไฟ Flame Detector
6.Lighting System ระบบไฟฟ้าส่องสว่างในห้องเรียน  ห้องแสดงนิทรรศการ
7.ห้องจัดแสดง Fashion Show ใช้ผนังวัสดุซับเสียง ทำผนังเป้รรอยหยัก เพื่อลดการสะท้อนเสียง





*อ้างอิงจากหนังสือระบบอุปกรณ์อาคารสำหรับงารสถาปัตยกรรมโดย ผศ.วิชัย พิทักษ์วรรัตน์









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น