บทที่ 5 สรุปโครงการ




บทที่ 5 สรุปโครงการ

ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่าง การจัดทำโครงการ (Progarmming Stage) กับขั้นตอนการออกแบบ
(Design Stage) ซึ่งเป้นบทสรุปเนื้อหา และวิเคราะหืเพื่อเริ่มต้นโครงการออกแบบ
                สิ่งที่นำเสนอเป็นสรุปข้อมูลเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของโครงการทั้งหมด ทั้งพื้นที่ใช้สอยโครงการ และที่ตั้งโครงการ การนำข้อมูลทุกด้านมาวิเคราะห์ ถึงความสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบ และนำไปออกแบบขั้นต้น
                การสรุปเครงการ คือ การสรุปประเด้นปัยหาเพื่อการออกแบบ คือโจทย์ที่ให้สถาปนิกค้นหาในขั้นตอนออกแบบ โดยจะสอดคล้องกับเเนวความคิดออกแบบ โดยจะต้องสอดคล้องกับแนวความคิดของโครงการ เป้าหมายโครงการ และอย๔้ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
                โดยพิจารณาในส่วนของบทสรุปของโครงการจะมีหัวข้อในการพิจารณาดังนี้
1.สรุปภาพรวมของโครงการ (Project Summary)
2.การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พื้นที่อาคาร และที่ตั้งโครงการ (Site Related to Area Analysis)
3.โจทย์เพื่อการออกแบบ   (Design Problems)
4.การออกแบบทางเลือก (Schematic Design)
5.1 สรุปภาพรวมโครงการ (PROJECT SUMMARY)
                เป็นการสรุปภาพรวมของโครงการเป็นการนำเสนอรายละเอียดโครงการโดยสรุป เพื่อให้ผุ้ออกแบบใช้ไปในการออกแบบเบื้องต้นได้  และเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจเฉพาะส่วนออกแบบได้รับข้อมูลโดยสั้นๆในส่วนนี้


5.1.1 พื้นที่โครงการ (AREA REQUIREMENT)
                การสรุปพื้นที่ใช้สอย และพื้นที่สนับสนุนต่างๆ ของโครงการ แยกตามองคืประกอบหลักของโครงการ

แผนภูมิ 5.1 แสดงสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยโครงการ


 



5.1.2 ความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอย(Functional Relationship)
แผนผังที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ของภาพรวมโครงการพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอแห่งประเทศไทย


 


ซึ่งในแต่ละส่วนประกอบด้วย

องค์ประกอบหลัก (Main function  6,875 sq.m)
EXHIBITION (ถาวร)
ส่วนจัดแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมา
      - จัดแสดงผลงานนิทรรศการความเป็นมาของสิ่งทอประเทศไทย ตั้งแต่สมันอดีตกาล จนถึงปัจจุบัน ลักษณะของนิทรรศการจะเป็น นิทรรศการที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้าย และเป็นหัวใจหลักของส่วนจัดแสดงนิทรรศการ
ส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั่วคร่าวที่แบ่งตามประเภทของผลิตภัณฑ์
        - จัดแสดงผลงานนิทรรศการถาวรที่ถูก แบ่งขึ้นตามชนิด และผลิตภัณฑ์ของสิ่งทอภายใน ประเทศ ในรูปแบบต่างๆ
         - มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนในทุกๆ1-2เดือน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการรับชม
EXHIBITION    (ชั่วคราวพิเศษ)
         - เป็นส่วนการจัดแสดงผลงานผลิตภัณ์สิ่งทอในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทั่วโลก และมีการจัดแสดงผลงานของคนไทยที่ผ่านการประกวดจากงานต่างๆซึ่งจะหมุนเวียนเปลี่ยนชิ้นงานไปเรื่อยๆ
         - จัดแสดงเนื้อหาที่แปลกใหม่ มีการจัดแสดงในทุกๆ1-2เดือนเพิ่มความน่าสนใจในการรับชม
องค์ประกอบรอง
EDUCATION ZONE
- ห้องslope ยกระดับพื้น เพื่อให้ผู้ที่นั่งอยู่ในทุกตำแหน่งสามารถมองเห็นเวทีได้ชัดเจน เวทีมีขนาดใหญ่ตามมาตรฐาน และระบบเสียง ไฟฟ้า สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง มีห้องควบคุมทางด้านหลังของเวที
-ห้องเรียน เป็นห้องไว้สำหรับผู้ที่มีความสนใจ ในเรื่องการตัดเย็บสิ่งทอ
พื้นที่ อุกปกรณ์ ภายในห้องจะประกอบไปด้วย โต๊ะ-เก้าอี้สำหรับศึกษาเป็นกลุ่ม และเดี่ยว และสำหรับวิทยากรทางด้านหน้าจะมี จอภาพ ไวท์บอร์ด เพื่อให้มองเห็นขั้นตอนการสอนได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ส่วนพื้นที่สำหรับนั่งศึกษา แบ่งเป็นโต๊ะ ละ2-4 ที่นั่งเพื่อความไม่แออัดกันจนเกินไป
-ห้องสมุดสิ่งทอ - เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือ และสื่ออื่นๆที่เกี่ยวกับสิ่งทอ ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ มีระบบอินทราเน็ตเพื่อช่วยในความรวดเร็ว และมีความทันสมัย ความสะดวกรวดเร็ว ในการสืบค้นข้อมูล
- ใช้พื้นที่ที่มีลูกเล่นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ในการค้นหาหนังสือในส่วนต่างๆของห้องสมุด มีการจัดเป็นหมวดหมู่
Fashion show
 เป็นส่วนของการจัดแสดงผลงานของนักเรียนนักศึกษา บุคคลทั่วไป หรืออาจจะมีการจัดแสดงประกวดแข่งขัน เนื่องในโอกาสต่างๆ วึ่งพื้นที่ส่วนนี้จะเป้นพื้นที่ที่สามารถ ประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของผ้าทอ และแฟชั่นผ้าทอภายในประเทศให้คนต่างชาติสามรับรู้ถึง ว่ามีศักยภาพ และการเจริยเติบโตของประเทศไทยได้
SUPPORT ZONE
- เป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงสินค้า และเดินชมสินค้า บริเวณกว้างใช้การจัดแสงและใช้วัสดุ ทำให้ส่วนจัดแสดงสินค้ามีความน่าสนใจ ใช้แสงจากธรรมชาติและแสงไฟ ช่วยในการนำเสนอสินค้า
- ร้านอาหาร จัดให้มีพื้นที่สำหรับรับประทานอาหาร แบบสาธารณะในโครงการ บุคคลภายนอกและผู้เข้าใช้โครงการสามารถเข้าใช้ส่วนนี้ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชมโครงการ
- RETAIL SHOP & GIFT SHOP จัดให้มีพื้นที่สำหรับขายสินค้าต่างๆร้านขายของที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์บุคคลภายนอกและผู้เข้าใช้โครงการ สามารถเข้าใช้ส่วนนี้ได้เพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชม
ส่วนบริการอาคาร เป้นส่วนพื้นที่ปฏิบัติการ ของงานระบบ ส่วนพื้นที่สำหรับพนักงานฝ่ายบริการอาคาร ฝ่ายเทคนิค
ส่วนจอดรถ  ส่วนจอดรถสำหรับผุ้มาดำเนินกิจกรรมในโครงการโดยตรง ที่จอดรถฝ่ายบริหารดครงการ และที่จอดรถสำหรับฝ่ายบริการโครงกาาร



 5.1.3 ที่ตั้งโครงการ (Site)
                1 . แผนที่ตั้งโครงการ (Location Map)
รูปที่5.1 แสดงแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ท้ายกฏกระทรวง ปีพ.ศ.2543


 


































รูปที่5.1 แสดงผลสำรวจการใช้ที่ดินในปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร
ที่มา : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร



 


รูปที่5.2 แสดงผลสำรวจการแบ่งเขตชั้นการใช้ที่ดินในปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร ที่มา : ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหาคร



เขตเมืองกรุงเทพมหานครชั้นใน เป็นเขตที่มีปริมาณการเจริญเติบโตสูงที่สุด โดยมีการใช้
ประโยชน์ที่ดินในลักษณะที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และหนาแน่นสูง อีกทั้งยังประกอบด้วยแหล่ง
สถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ จำนวนมาก ส่งผลให้เขตเมืองชั้นในมีปริมาณประชากรที่เป็นกลุ่มเป้า
หมายหลักของโครงการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นแหล่งศูนย์กลางทางด้านธุรกิจการค้า และมีอัตรา
การขยายตัวทางด้านการพานิชยกรรมสำคัญต่างๆ เขตเมืองชั้นในยังมีสถาบันต่างๆที่สำคัญทั้งของภาค
รัฐและภาคเอกชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของการสนับสนุนโครงการเป็นจำนวนมาก เขตเมืองชั้นใน
ยังเป็นศูนย์กลางความเจริญ และมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่สำคัญอย่างมากมาย ระบบเครือข่าย
คมนาคมในเขตเมืองชั้นในนั้นมีการขยายตัว และมีความพร้อมมากที่สุดไม่ว่าถนนสายหลัก ถนนสาย
รอง ทางด่วน รถไฟฟ้า หรือโครงการรถไฟใต้ดินในอนาคต อีกทั้งการเชื่อมต่อเข้าถึงจุดต่างๆเป็นไปได้
อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร ส่วนในเรื่องของระบบ
สาธารณูปโภค สาธารณูปการในเขตเมืองชั้นในก็มีความพร้อมสมบูรณ์

รูปที่5.3 แสดงการแบ่งกลุ่มเขตของกรุงเทพมหานคร
ที่มา : หนังสือสรุปผลการสัมมนา ด้านผังเมืองและการใช้ที่ดิน และด้านการจราจร การขนส่งและสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
นโยนโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานคร บรรยายโดย นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หน้า 2 -3



บริเวณพื้นที่เขตชั้นใน  แบ่งเป็นสองส่วน คือ
   - เขตชั้นในด้านตะวันออก
 - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางเมืองที่มีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นประเภทที่อยู่อาศัย  พาณิชยกรรม
   สถาบันราชการ สถาบันการศึกษา
 - มีอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยสูง ในทุกเขต  อัตราสูงสุด เขตวัฒนา บางซื่อ ดินแดง และสาทร
 - มีอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม สูง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพื้นที่ชั้นใน ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตบางรัก และเขตปทุมวัน
- มีอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสถาบันราชการ ซึ่งมีมากถึงครึ่งหนึ่งของ ทึ่ดิน มีการกระจายตัวมากในเขตดุสิต เขตราชเทวี เขตพญาไท เขตพระนคร เขตจตุจักร และเขตห้วยขวาง
- มีอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษากระจายตัวสูงสุดในเขตปทุมวันและเขตจตุจักร
ผลสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน (Existing Land Use)
 บริเวณพื้นที่เขตต่อเนื่องหรือเขตชั้นกลาง แบ่งเป็นสองส่วน คือ
                                -เขตต่อเนื่องด้านตะวันออก            
                             - เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวการพัฒนาจากพื้นที่เมืองชั้นใน
                             - มีอัตราส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินพาณิชยกรรมสูง
                             - มีโครงข่ายคมนาคมพาดผ่าน เป็นจุดเชื่อมต่อของการคมนาคมขนส่ง สำหรับอุตสาหกรรม
                 
จากกรณีที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วจากศูนย์กลางเมืองไปสู่เขตชานเมือง ทำให้เกิดพื้นที่ว่าง
รอการพัฒนาหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ กระจายอยู่ในพื้นที่เขตต่อเนื่องด้านตะวันออกเป็นจำนวนมาก (ร้อยละ25ของพื้นที่ทั้งหมด)
- ต่อเนื่องด้านตะวันตก คือ
- มีการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรม (ร้อยละ35ของพื้นที่ทั้งหมด)
- อาคารพาณิชยกรรมมีลักษณะการค้ารูปแบบดังเดิม
นโยบายปี พ.ศ.2547 แบ่งเขตตามนโยบายการพัฒนาเมือง
พื้นที่ กท. 2  กลุ่ม ลุมพินี  ประกอบด้วยเขต 4 เขต คือ ปทุมวัน บางรัก สาทร และวัฒนา
เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ธุรกิจ
พานิชยกรรมระดับชาติ ศูนย์รวมของโรงแรมและที่พักของนักท่องเที่ยว
                * ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีแบ่งกลุ่มเขตตามลักษณะพื้นที่เป็น 12 กลุ่มเขต และแบ่งเขตการพัฒนาตามบทบาทการ พัฒนาเมือง
                   - เขตเศรษฐกิจของเมือง ได้แก่ กลุ่มวิภาวดี กลุ่มลุมพินี กลุ่มเจ้าพระยา และกลุ่มตากสิน


5.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พื้นที่อาคารและที่ตั้งโครงการ
(SITE RELATED TO AREA ANALYSIS)
บทสรุปในส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพื้นที่อาคาร เป็นการวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย และที่
ตั้งโครงการ ตามที่กำหนดมาว่ามีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่หนาแน่น หรือเบาบางเกินไป รวมไปถึง
วิเคราะห์ถึงกฎหมายหรือข้อบังคับของท้องถิ่นที่ตั้งนั้น ที่อาจจะกระทบต่อการออกแบบต่อไป
                การพิจารณาการหาพื้นที่โครงการเบื้องต้นมีตามขั้นตอนดังนี้
1.พื้นที่ใช้สอยโครงการประมาณ  7,800   ตารางเมตร
2.คำนวณหาพื้นที่ตั้งที่เหมาะสมจาการคำนวณสัดส่วนพื้นที่ตั้งโครงการต่อพื้นที่ก่อสร้างโครงการ
(F.A.R. = Site Area: Building Area) ตามประเภทโครงการ
กำหนดสัดส่วน F.A.R. ตามประเภทของสถาปัตยกรรมการออกแบบของอาคาร = 1:10



5.3 โจทย์เพื่อการออกแบบ(DESIGN PLOBLEM)
การจัดวางอาคารให้เหมาะสมกับอาคารรอบข้าง
         โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย เป็นโครงการทางด้านพิพิธภัณฑ์กึ่งศูนย์เรียนรู้ เป็น โครงการที่เน้นถึงความเป็นสากล ซึ่งต้องสามารถนำเสนอตัวโครงการออกสู่ในระดับมาตราฐานของชาวต่างประเทศได้  อีกทั้งความเป็นอีกทั้งเป็นโครงการที่เกี่ยวกับด้านแฟชั่น หรือศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับผ้าทั้งในการออกแบบ และตัดเย็บประกอบกับในเนื้อหาของแฟชั่นก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงในตัวเองตลอดเวลาไปตามยุคตามสมัย ดังนั้นจึงมีผลต่อการวางแนวความคิดโครงการ
          เนื่องจาก โครงการ พิพิธภัณฑ์เพื่อศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอ แห่งประเทศไทย หากจะพูดถึงเรื่องของผ้าไทย แน่นอนว่า ทุกคนจะนึกภาพถึง ผ้าไหมเป้นอันดับแรก จึงได้นำแนวความคิด ที่เกี่ยวกับ รังไหม จ่อไหม และหนอนไหม มาเป็นแนวความคิดในการออกแบบ โดย จ่อไหมนั้น ได้นำมาเปรียบกับ โครงสร้างของตัวโครงการ แบบฟรอมของอาคาร รังไหม เปรียบกับ ฟังก์ชั่นแทนกิจกรรมที่คนสามารถเข้าไปทำกิจกรรมภายในตัวกลุ่มอาคาร และหนอนไหม เปรียบกับคน ที่เข้าไปสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวกับผ้าทอ
ส่วนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวโครงการกับบริบทโดยรอบ ด้วยโครงการนั้น เป็นโครงการที่ถูกบริหารจัดการภายใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในบริเวณนั้นมีความหนาเเน่นของตัวอาคาร จึงใช้พื้นทีสาธารระด้านหน้าโครงการ และด้านข้างของโครงการเชื่อมต่อระหว่างโครงการกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยพื้นที่ดังกล่าวที่ถูกเชื่อมต่อนั้น นักศึกษาสามารถมาทำกิจกรรม ในส่วนของพื้นที่นี้ได้
           5.4 การออกแบบทางเลือก (SCHEMATIC DESIGN)
           การอกกแบบทางเลือก เป็นการศึกษาถึงการวางตำแหน่งของกลุ่มพื้นที่โครงการ หรือองค์
ประกอบต่างๆโครงการ ตามความเหมาะสมกับความสัมพันธ์ของทางสัญจร กิจกรรมและสภาพเงื่อนไข
ต่างๆ ของที่ตั้งโครงการ โดยการศึกษาการวางผังบริเวณ (LAY- OUT) ของโครงการและการวางตำแหน่งของกลุ่มพื้นที่

(ZONE) หรือองค์ประกอบโครงการต่างๆ รวมทั้งทางเข้า-ออก ระบบจราจรที่ว่างตามกฎหมาย ที่ว่าง
ภายนอกตามโปรแกรม ที่พิจารณาได้จากสรุปภาพรวมโครงการ ที่ได้ทำไว้แล้วก่อนหน้านี้คือ
1. เงื่อนไขของที่ตั้งโครงการที่ได้วิเคราะห์ (SITE CONDITION)
2. ลำดับสำคัญของการเข้าถึงตามผังความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอย (FUNCTIONAL DIAGRAM)
3. พื้นที่ใช้สอยโครงการ (AREA) ในแต่ละองค์กระกอบโครงการ (ZONE)
4. สัดส่วนพื้นที่ใช้สอยโครงการกับที่ตั้งโครงการ ขนาดพื้นที่ต่อชั้น จำนวนชั้น
        การออกแบบทางเลือก เป็นการออกแบบโดยนำพื้นที่คร่าวๆ มาให้ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับหัวข้อ
ข้างต้นแล้ว วางลงในผังบริเวณโครงการ และมีจำนวนชั้นโดยคร่าวๆ แล้วพัฒนารูปแบบการวางผังให้
เหมาะสม และได้รูปแบบที่ดีที่สุด จาก 1 ไป 2 โดยสอดคล้องกับการแก้ปัญหาเพื่อ
การออกแบบให้ได้มากที่สุด เมื่อได้ ZONING LAY-OUT ที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำไปใช้ในการออกแบบ
ภาค DESIGN ต่อไป
5.4.1 การวางผังบริเวณ 3 ทางเลือก(Zoning Lay-out)
          การออกแบบแนวทางการจัดวางผัง 3 ทางเลือกนี้เป็นการพัฒนาการจัดวาง Zoning ลงภายใน
ที่ตั้งโครงการโดยตอบรับกับสัดส่วนของแต่ละพื้นที่ใช้สอยของแต่ละองค์ประกอบ โดยอ้างอิงถึงการ
วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการในหัวข้อต่างๆในข้างต้น ดังนั้นการออกแบบ Zoning ในขั้นตอนสุดท้ายจะมี
ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ที่จะนำไปใช้ในการออกแบบในขั้นตอนการออกแบบทางเลือก (SchematicDesign)โดยทั่วไปจะมีเกณฑืในการร่วมพิจารณาในการออกแบบ ดังนี้
ความเหมาะสมของการเข้าถึง(Accessibility)
ความเหมาะสมของทิศทางแดด และลม(Orientation)
ความเหมาะสมของการสัญจรหรือการสัญจรหลักภายใน(Circulation)
ความเหมาะสมของสภาพรอบด้าน(Surrounding)
ความเหมาะสมของมุมมองจากภายนอก(View to Site)
ความเหมาะสมจากมุมมองภายใน(View from Site)
ความเหมาะสมของการเน้นทางเข้า(Approach)
ความเหมาะสมของการเชื่อมต่อโครงการกับสถานที่อื่น(Linkage)
รายละเอียดของการจัดวางผังบริเวณ 3 ทางเลือกมีรายละเอียดดังนี้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น