บทที่ 2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรุ้ผ้าทอแห่งประเทศไทย
เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาทางด้านการอนุรักษ์ผ้าทอ
และเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไปในขนาดเดียวกัน เนื่องจากโครงการประเภทนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง
ดังนั้นในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากโครงการประเภทพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้
จึงใช้วิธีการอ้างอิงจากโครงการที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันเพื่อทำการศึกษาทางด้านข้อมูลพื้นฐาน
โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานโครงการจะมีรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำการรวบรวมมาจาก
การสัมภาษณ์และสอบถาม หาข้อมูลจากโครงการเดิมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้โครงการ ข้อมูลกิจกรรมของโครงการ
ข้อมูลทางด้านสภาพแวดล้อม ข้อมูลทางด้านสถิติ
กรณีศึกษาและเอกสารทางที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
แล้วจึงนำข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้นมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านต่างๆของโครงการ
ซึ่งประกอบดังนี้
2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
(FUNCTION FACTS)
2.2ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ (FORM FACTS)
2.3ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์
(ECONOMIC FACTS)
2.4ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
(TECHNOLOGY FACTS)
2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย (FUNCTION
FACTS)
ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
จัดเป็นข้อมูลหลักของโครงการที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายระดับต่างๆของโครงการกับตัวโครงการ
รวมถึงกิจกรรมต่างๆ และตารางเวลาที่เกิดขึ้นภายในโครงการ
โดยข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย ประกอบไปด้วย
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ (Users)
2.1.2 กิจกรรม (Activity)
2.1.3 ตารางเวลา (Time
Schedule)
อ้างอิงจาก
หนังสือการจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรม โดย ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ และ ดร. อวิรุทธ์
เจริญทรัพย์
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ (Users)
1.โครงสร้างองค์กร(Authority
Structure)
การศึกษาโครงสร้างองค์กรเป็นการศึกษาองค์กรทางด้านระบบการบริหารและการจัดการภายในองค์กรของโครงการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เนื่องจากโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรุ้ผ้าทอแห่งประเทศไทย
เป็นโครงการเพื่อการศึกษาทางด้านการอนุรักษ์ผ้าทอ
และเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไปในขนาดเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านโครงสร้างองค์กร
จึงทำการศึกษาค้นคว้าโดยอ้างอิงจากรูปแบบผังองค์กรของพิพิธภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกันทั้งในของรัฐบาลและเอกชน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งลำดับความสำคัญของหน่วยงานต่างๆที่จะปรากฏในผังโครงสร้างองค์กร
จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้
1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรุ้ผ้าทอแห่งประเทศไทยเป็นโครงการของภาครัฐบาล
ซึ่งเป็นศุนย์การเรียนรู้ของคณะนฤมิตศิลป์ สาขาแฟชั่นดีซายย์ โดยภายใต้สังกัดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รวบกับสถาบันพัฒาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นหน่วยงานหลักที่จะควบคุมบริหารการจัดการของโครงการ
2.หน่วยงานภายในองค์กร
สามารถนำมาสรุปในรูปแบบของแผนผังโครงสร้างองค์กร(Organization
Chart ) ได้ดังนี้
2.ปริมาณผู้ใช้โครงการ(Number of User)
ในการพิจารณาปริมาณกลุ่มผู้ใช้โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรุ้ผ้าทอแห่งประเทศไทย
จะอ้างอิงถึงข้อมูลสถิติ
และกรณีศึกษาที่จัดเป็นประเภทเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกับโครงการ
โดยสามารถแยกประเภทกลุ่มผู้ใช้โครงการได้ 3ประเภท ดังนี้
-กลุ่มผู้ใช้หลัก
-กลุ่มผู้ใช้รอง
-กลุ่มผู้บริหาร
และพนักงาน
กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
กลุ่มผู้ใช้หลักของโครงการ คือกลุ่มบุคคลที่เข้าชมนิทรรศการ มาศึกษาความรู้ทางด้านผ้าทอ
แฟชั่นผ้าทอ อันประกอบไปด้วยนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักจะมีอายุประมาณ16-25
กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง คือกลุ่มบุคคลชาวต่างประเทศที่มาประกอบกิจกรรมต่างๆที่นอกเหนือจากการเข้าชม
เรียนรู้ อาทิเช่น การติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ
กลุ่มผู้ที่มาชมและเกี่ยวข้องกับการจัดนิทรรศการ การเดินแฟชั่นโชว์
หรือการจัดประชุมต่างๆ
กลุ่มผู้ที่มาใช้บริการข้อมูลข่าวสารจากห้องสมุดและโสตทัศนูปกรณ์ และกลุ่มผู้ที่มาใช้บริการทางด้านอื่นๆ
อาทิเช่น บริการจากร้านค้า และร้านอาหาร
โดยมีรายละเอียดปริมาณของกลุ่มผู้ใช้โครงการรอง ดังนี้
ที่มา: จากการคำนวนค่าเฉลี่ย Case Study 01 และบทสัมภาษณ์ที่
5
อ้างอิงจากบทที่1 หน้าที่1-3
แสดงปริมาณกลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
ที่มา : จากตารางที่2.2 แสดงปริมาณกลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
กลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน
กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน คือกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโครงการในแง่ของการบริหารโครงการ
และบริการแก่กลุ่มผู้ที่มาใช้โครงการหลัก และผู้ใช้โครงการรอง
อีกทั้งการบริหารโครงการ โดยมีรายละเอียดปริมาณของกลุ่มผู้บริหารและพนักงาน ดังนี้
ที่มา: จากการคำนวณค่าเฉลี่ย Case Study
01 และบทสัมภาษณ์ที่ 5
กลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน
กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน คือกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโครงการในแง่ของการบริหารโครงการ
และบริการแก่กลุ่มผู้ที่มาใช้โครงการหลัก และผู้ใช้โครงการรอง
อีกทั้งการบริหารโครงการ โดยมีรายละเอียดปริมาณของกลุ่มผู้บริหารและพนักงาน ดังนี้
ที่มา: จากการคำนวณค่าเฉลี่ย Case Study
01 และบทสัมภาษณ์ที่ 5
ตารางที่ 2.3 แสดงปริมาณผู้ใช้โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรุ้ผ้าทอแห่งประเทศไทย(วัน)
กลุ่มผู้ใช้
|
ปริมาณ(คน)
|
1.กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
|
240
|
2.กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
|
650
|
3.กลุ่มผู้บริหาร
และพนักงาน
|
31
|
รวม
|
921
|
ที่มา : จากการอ้างอิงจากการคิดปริมาณผู้ใช้โครงการในตารางที่2.1, 2.2 และ2.3
ลักษณะผู้ใช้โครงการ
(USER CHARACTERISTICS)
ในการพิจารณาในส่วนของกลุ่มผู้ใช้โครงการ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
-กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
-กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
โดยผู้ใช้โครงการแต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะเฉพาะตัว
โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการทั้ง 3 กลุ่มสรุปออกมาตามลักษณะของผู้ใช้ได้เป็น 3
ด้านคือทางกายภาพ และทางสังคม ได้ดังนี้
1.ทางด้านกายภาพ(Physical)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านกายภาพ
คือ ลักษณะทางร่างกาย และอายุของกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการลักษณะทางกายภาพเฉพาะ
จำแนกได้ดังนี้
1.1กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
-มีอายุระหว่าง 16-25 ปี ไม่จำกัดเพศ
-มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรง และมีความสมบูรณ์พร้อม
-ไม่มีข้อบกพร่องทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมต่างๆ
1.2กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-มีอายุระหว่าง 25-50 ปี ไม่จำกัดเพศ
-มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์
1.3กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
-มีอายุระหว่าง
25-45 ปีไม่จำกัดเพศ
-มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์
-ไม่มีข้อบกพร่องทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
2.ทางด้านสังคม(Social)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านสังคม คือ
ลักษณะสังคมที่แตกต่างกันจะทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ต่างกัน
มีผลต่อความชอบในเรื่องรสนิยมความชอบ การที่ลักษณะของสังคมแตกต่างอาจเนื่องมาจาก
ระดับการศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ
จำแนกได้ดังนี้
3.1กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
-ลักษณะทางสังคมของกลุ่มวัยรุ่น
หรือกลุ่มผู้ใช้โครงการหลักอายุระหว่าง 19-25 ปี
จะมีลักษณะสังคมที่มักอยู่กับเพื่อนฝูง ชอบเข้ากับกลุ่มคนจำนวนมาก
แต่ในการทำงานชอบที่จะต้องการพื้นที่ส่วนตัว แต่กล้าแสดงออกในที่สาธารณะชน และในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก
-ลักษณะของกลุ่มวัยรุ่น
จะมีระดับการศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรี
ซึ่งจะมีรสนิยมแบบหนึ่งที่ต่างจากกลุ่มคนที่ทำงาน หรือมีอายุ
3.2กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
-ลักษณะทางสังคมของกลุ่มคนที่มีอายุ
25-50ปี เป็นไปในลักษณะชองสังคมกลุ่มคนทำงาน ความสัมพันธ์กันระหว่างคนในกลุ่มน้อย
อีกทั้งต้องการความเป็นส่วนตัวในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
3.3กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
--ลักษณะทางสังคมของกลุ่มคนที่มีอายุ
25-45ปี เป็นไปในลักษณะของสังคมกลุ่มคนทำงานที่ต้องการพื้นที่บางส่วนในการปฎิสัมพันธ์กัน อีกทั้งต้องการความเป็นส่วนตัวในการทำงานต่างๆ
2.1.2 กิจกรรม (Activities)
เป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับกิจกรรม
ลักษณะของกิจกรรม และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ การตอบสนองของพฤติกรรมต่อกิจกรรมในโครงการ
รวมไปถึงช่วงเวลา และความถี่ของการทำกิจกรรมนั้นๆภายในโครงการ
ลักษณะกิจกรรมของผู้ใช้โครงการจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ใช้โครงการโดยสามารถแยก
ได้ดังนี้
1.ประเภทของกิจกรรม(Types of Activity)
2.รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้(User’s Behavioral
Patterns)
3.พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม(Behavior and Environment)
2.รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้(User’s Behavioral Patterns)
จากการศึกษาถึงรูปแบบพฤติกรรมของการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้ใช้สอยโครงการ
พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอนั้นพบว่า ลักษณะของรูปแบบพฤติกรรมมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในแต่ละกลุ่มของผู้ใช้โครงการ
ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบพฤติกรรมต่างๆตามลักษณะของกลุ่มผู้ใช้โครงการ ได้ดังนี้
2.1รูปแบบพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา
2.2รูปแบบพฤติกรรมกลุ่มบุคคลภายนอกที่เข้ามาในโครงการ
ลักษณะของการเข้ามาดำเนินกิจกรรมภายในสถาบันของบุคคลภายนอก
จะเป็นไปในรูปแบบของการเข้ามาชมการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ การชมงานนิทรรศการ
การรับประทานอาหาร การพักคอย การเข้ามาสอบถามข้อมูล และการเข้ามาติดต่อธุระกับโครงการ
โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.3รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลภายนอกที่มาชมการจัดแสดงแฟชั่นโชว์
ลักษณะของกลุ่มบุคคลที่แยกรายละเอียดของรูปแบบพฤติกรรมอย่างชัดเจน
ในการเข้ามาภายในสถาบันเพื่อชมการจัดแสดงแฟชั่นโชว์โดยเฉพาะ จะมีรูปแบบพฤติกรรม
ดังนี้
2.4รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลภายนอกที่มาชมการจัดแสดงนิทรรศการ
ลักษณะของกลุ่มบุคคลที่แยกรายละเอียดของรูปแบบพฤติกรรมอย่างชัดเจน
ในการเข้ามาภายในสถาบันเพื่อชมงานนิทรรศการโดยเฉพาะ ทั้งในส่วนของนิทรรศการถาวร
และนิทรรศการชั่วคราว จะมีรูปแบบพฤติกรรม ดังนี้
2.5รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการส่วนห้องสมุด
และโสตทัศนูปกรณ์
ลักษณะของกลุ่มบุคคลที่แยกรายละเอียดของรูปแบบพฤติกรรมอย่างชัดเจน
ในการเข้ามาภายในสถาบันเพื่อเข้ามาใช้บริการในส่วนห้องสมุด และโสตทัศนูปกรณ์
ทั้งในส่วนของนักศึกษา อาจารย์ภายในโครงการ และกลุ่มบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจ
2.6รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และอาจารย์
2.7รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้ที่เข้ามาจัดแสดงงานต่างๆภายในโครงการ
2.8รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริการอาคารของโครงการ
2.8รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริการอาคารของโครงการ
2.1.3 ตารางเวลา (Time Schudule)
ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เวลาในแต่ละส่วนต่างๆของภายในโครงการ
กับลักษณะของการดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ โดยเปรียบเทียบกับเวลาการใช้งานของโครงการต่างๆในกรณีศึกษา
การแสดงตารางเวลาของแต่ละองค์ประกอบโครงการ(Functional
Component) จะแสดงให้เห็นถึงทุกส่วน(Zone)
สัมพันธ์กับทุกกลุ่มผู้ใช้โครงการตารางเวลาจะมีผลต่อการกำหนดการปิด เปิดโครงการ
เป็นข้อกำหนดให้ผู้ออกแบบได้พิจารณาภึงการแยกองค์ประกอบดังกล่าว
ให้มีการเข้าออกในช่วงที่ปิดทำการโครงการ
นอกจากนี้ยังมีผลต่อการกำหนดระบบเทคโนโลยีอาคาร
โดยลักษณะตารางเวลาที่ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีรายละเอียดดังนี้
ตาราง2.7 แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ
ภายในหนึ่งสัปดาห์
![]()
FUNCTIONAL COMPONENT
|
![]() |
MONDAY
|
![]() ![]() |
WENDNESDAY
|
![]() |
![]() ![]() |
SATURDAY
|
![]() |
|
1.ส่วนบริหาร
|
กรณีศึกษา
|
||||||||
2.ส่วนจัดแสดงนิทรรศการและส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์
|
|||||||||
3.ส่วนการเรียนรู้
|
|||||||||
4.ส่วนห้องสมุด และโสตทัศนูปกรณ์
|
|||||||||
5.ส่วนสาธารณะ
|
|||||||||
6.ส่วนบริการอาคาร
|
|||||||||
|
|||||||||
ตาราง2.8
แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ
ภายในหนึ่งวัน
![]()
FUNCTIONAL COMPONENT
|
![]() |
8.00-9.00
|
![]() ![]() |
10.00-11.00
|
![]() ![]() |
12.00-13.00
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
22.00-23.00
|
![]() |
![]() |
![]() |
||||||||||||
1.ส่วนบริหาร
|
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
2.ส่วนการศึกษา
|
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||||||||||||||||||||||||||
3.ส่วนจัดแสดงนิทรรศการและส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์
|
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
4.ส่วนห้องสมุด และโสตทัศนูปกรณ์
|
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
5.ส่วนสาธารณะ
|
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
|||||||||||||||||||||||||||
6.ส่วนบริการอาคาร
|
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
7.ส่วนที่จอดรถ
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
![]() ![]() |
|
![]() |
![]() |
|
2.2ข้อมูลพื้นฐานทางด้านรูปแบบ (FORM FACT)
ศึกษาข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งของโครงการ
รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโครงการ
ที่เป็นปัจจัยในการออกแบบ
2.2.1ที่ตั้ง(Site) และสภาพแวดล้อม (Environment)
ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับที่ตั้ง
และสภาพแวดล้อมของโครงการที่นำมาใช้ในการเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria for
Site Selection) โดยอ้างอิงจากโครงการที่เป็นกรณีศึกษา โดยโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ
มีหัวข้อในการพิจารณา ดังนี้
ตารางที่2.9 สรุปความสำคัญของหลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ตั้ง
(CRITERIA FOR SELECTION)
|
ระดับความสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งโครงการ
|
|||||||
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ไม่มี
|
|||
สภาพการตลาดและส่วนแบ่ง (Marketing Share)
|
*
|
|||||||
ราคาที่ดิน (Land Cost)
|
*
|
|||||||
การใช้ที่ดิน (Land Use)
|
*
|
|||||||
โครงสร้างบริการสาธารณะพื้นฐาน(Infrastructure and Facilities)
|
*
|
|||||||
ความสะดวกในการเข้าถึง
(Accessibility)
|
*
|
|||||||
การคมนาคม
และสภาพการจราจร (Transportation and Traffic)
|
*
|
|||||||
ลักษณะประชากร (Population)
|
*
|
|||||||
ความปลอดภัย (Safety)
|
*
|
|||||||
ความเหมาะสมของประเภทอาคาร(Conformity)
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ตั้ง
(CRITERIA FOR SELECTION)
|
*
|
|||||||
การมองเห็นที่ตั้งและลักษณะเชื้อเชิญ
(Approach and Invitation)
|
*
|
|||||||
ทิวทัศน์ (View from Site)
|
*
|
|||||||
ความสัมพันธ์โครงการที่เกี่ยวข้อง(Linkage)
|
*
|
|||||||
แนวโน้มการได้รับประโยชน์จากระบบขนส่งมวลชน (MASS TRANSIT)
|
*
|
|||||||
การขยายตัวโครงการ (Project Expansion)
|
*
|
|||||||
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
(Trend in Changing Land Use)
|
*
|
|||||||
แนวโน้มของการอยู่ในที่เวนคืน(Expropriation)
|
*
|
|||||||
|
*
|
2.2.2จินตภาพ(Image)
การศึกษาข้อมูลของลักษณะภายนอกและภายในที่ปรากฏออกมาในงานสถาปัตยกรรม
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปทรง สี องค์วัสดุ
หรือประกอบอื่นๆที่มองเห็นแล้วก็ให้เกิดจินตภาพที่สอดคล้องกับแนวความคิดของโครงการ
โดยมีหัวข้อรายละเอียดในการพิจารณา ดังนี้
1.จินตภาพภายนอก(External Image)
ศึกษาภาพรวมที่ปรากฏอยู่ภายนอกของงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่เป็นกรณีศึกษา
เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวความคิด
วิธีการจัดการ และวิธีการออกแบบให้ได้ตามแนวความคิดที่วางไว้ โดยมีรายละเอียดย่อยในการพิจารณาดังนี้
รูปที่2.1 แสดงจินตภาพภายนอกด้านรูปร่างและรูปทรงที่มา www.google.in.th
1.2ลักษณะ(Characteristic)
สถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมของประเทศที่ตั้ง
ทั้งในส่วนของรูปทรง พื้นที่ว่าง วัสดุ และองค์ประกอบ
ต่างสร้างภาพลักษณ์เฉพาะตัวให้แก่งานสถาปัตยกรรม ลักษณะของงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภาพลักษณ์ออกมาอย่างโดดเด่น
และความนำสมัย ซึ่งสามารถบ่งบอกประเภทของโครงการออกมาได้อย่างชัดเจนในรูปลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรม
1.3รูปแบบ(Style)
เป็นโครงการที่มีรูปแบบและสไตล์ที่ชัดเจนของยุคสมัย
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโครงการ
1.4สัดส่วน(Proportion)
จังหวะ(Rhythm) และลำดับ(Order/Hierarchy)
โครงการที่มีสัดส่วนของอาคารที่สวยงาม
สามารถบอกความสำคัญของแต่ละการใช้ประโยชน์ใช้สอยภายในโครงการได้อย่างชัดเจน
อีกทั้งการใช้องค์ประกอบต่างๆที่เห็นได้จากภายนอก เป็นตัวกำหนดจังหวะ
และลำดับของตัวงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีผลต่อมุมมองจากภายนอกสู่ตัวอาคาร
1.5มุมมองของการเข้าถึง(Approach)
1.6สภาพแวดล้อมโครงการ(Landscape)
โครงการที่มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม
โดยเฉพาะการออกแบบอาคารให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างลงตัว
และสามารถใช้สภาพแวดล้อมมาเสริมสร้างภาพลักษณ์โครงการให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
2.จินตภาพภายใน(Internal Image)
การศึกษาถึงลักษณะจินตภาพภายในของโครงการที่เป็นกรณีศึกษา
ซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ว่างของโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรุ้ผ้าทอ
โดยมีรายละเอียดในการพิจารณา ดังนี้
2.1ลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่าง(Character
and Quality of Space)
โครงการที่มีลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่างที่สามารถสื่อภาพลักษณ์ของโครงการออกมาได้ดี
โดยเฉพาะในการเชื่อมพื้นที่ว่างภายในแต่ละส่วนของอาคาร
การเชื่อมต่อพื้นที่ว่างภายในและภายนอกอาคาร
ตลอดจนพื้นที่ว่างที่เป็นพื้นที่ว่างหลักของโครงการนั้นต่างมีลักษณะที่โดดเด่น
2.2จังหวะ(Rhythm)
และลำดับของพื้นที่ว่าง (Order /Hierarchy of Space)
2.3แสงในโครงการ(Lighting)
2.4 ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (
TECHNOLOGY FACTS )
ศึกษาข้อมูลต่าง ๆที่เป็นพื้นฐานระบบเทคโนโลยีต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เพื่อ
ทราบถึงงานระบบของโครงการและสามานำมาเลือกใช้วิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดได้อย่างถูกต้อง
โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
2.4.1 ระบบประกอบอาคาร(Building System)
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับงานระบบอาคารงานระบบภายในอาคาร
การกำหนดชนิดประเภท ความสามารถในการทำงาน ตลอดจนประสิทธิภาพต่างๆ และระบบอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อโครงการ
โดยระบบภายในอาคารทั่วไปของโครงการ มีดังนี้
1.ระบบโครงสร้าง(Structure)
2.ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)
3.ระบบสุขาภิบาล(Sanitary)
3.1ระบบประปา
3.2ระบบน้ำเสีย
3.3ระบบโสโครก
3.4ระบบบำบัดน้ำเสีย
4.ระบบไฟฟ้ากำลัง(Electricity)
5.ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency
System)
6.ระบบป้องกันฟ้าผ่า(Lighting
Protection System)
7.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(communication)
7.1ระบบโทรศัพท์(Telephone System)
7.2ระบบโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV System)
8.ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire Protection
Extinguishers)
9.ระบบแสงสว่าง(Lighting)
10.ระบันไดเลื่อน(Escalator)
11.ระบบลิฟต์ขนส่ง(Elevator)
12.ระบบกำจัดขยะ
2.4.2เทคโนโลยีพิเศษ(Specific
Technology)
ระบบเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะโครงการสถาบันส่งเสริมแฟชั่นดีไซน์นานาชาติ
โดยส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดแสดงงาน
ทั้งในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการ และการจัดแสดงแฟชั่นโชว์
รวมถึงโครงสร้างที่เป็นเทคโนโลยีพิเศษที่ใช้รองรับส่วนปฏิบัติการทางการศึกษา
โดยมีรายละเอียดหัวข้อในการพิจารณา ดังนี้
1 .ระบบป้องกันการสั่นสะเทือน
2.ระบบเวที
3.ระบบเสียงในห้องแสดง
(Sound System)
4.ประเภทวัสดุซับเสียง
5.ระบบแสงสำหรับเวทีการแสดง
6. ระบบการให้เสียงจากลำโพง
7.ระบบบริหารอาคาร ( Building
Management System )
8.ระบบโครงสร้างอาคาร ( Building
Structure )
โดยแต่ละข้อมีรายละเอียดสอดคล้องกับโครงการดังนี้
1 .ระบบป้องกันการสั่นสะเทือน
ระบบที่ 1 Resilient Floor Unit
ระบบที่ 2 Resilient
Ceiling Hanker
ระบบที่ 3
Resilient Wall Solater
จะเป็นการใช้ระบบป้องการการสั่นสะเทือน
เพื่อป้องกันอุปกรณ์การเรียนการสอนบางชนิดที่มีความไวต่อการสั่นสะเทือนสูง
โดยนำมาใช้กับห้องเรียนที่มีการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร
2.ระบบเวที
ระบบที่1 Hydrolic
ระบบที่2 ระบบเฟืองหมุน
เป็นระบบในการยกระดับเวทีขึ้น
เพื่อใช้สร้างพื้นที่ว่างพิเศษที่ต้องการ เช่นการวางวงดนตรีออเครสตร้า
การจัดวางงานแสดงพิเศษ การใช้เดินแบบแฟชั่นโชว์ การเปิดตัวแสดงสินค้าต่างๆ
ซึ่งระบบการยกระดับเวทีแบบ Hydrolic นี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าระบบเฟืองหมุน
แต่มีราคาที่แพงกว่าเช่นกัน
ดังนั้นการเลือกใช้ควรจะคำนึงถึงเงินลงทุนเบื้องต้นด้วย
3.ระบบเสียงในห้องแสดง (Sound System)
1.เสียงระบบ Centrally Locate System คือ
การให้เสียงด้านหน้าของผู้ชมในระดับตำแหน่งที่สูงกว่า
และอยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าแหล่งกำเนิดเสียง
2.เสียงระบบ
Stereophonic System คือการให้เสียงจากลำโพง 2กลุ่ม
หรือมากกว่ากระจายเสียงไปยังรอบๆเวที
3.เสียงสะท้อน
Rever Beration ให้ความเหมาะสมในการฟัง
4.ประเภทวัสดุซับเสียง
1.วัสดุซับเสียงเป็นรูปโปร่งเบาลักษณะคล้ายฟองน้ำ
(Porous) ดูดซับเสียงได้ดี ในระดับเสียงที่มีความถี่สูง
2.วัสดุดูดซับเสียงสะท้อนแบบ
Membrane ดูดซับเสียงได้ดีกว่าในระดับความถี่ที่ต่ำ
3.วัสดุดูดซับเสียงสะท้อน
(Resnance ) ดูดซับเสียงได้ดีในระดับความถี่ช่วงกลาง
4.วัสดุดูดซับเสียงแบบประกอบกัน
โดยประกอบด้วยวัสดุประเภทที่ 1 และประเภทที่ 3 ทำให้การดูดซับเสียงทำได้ดีในช่วงความถี่กว้างขึ้นกว่าชนิดอื่นๆ
การใช้วัสดุซับเสียง
ควรจะระมัดระวังและเลือกวิธีที่ถูกต้องเพราะอาจจะทำให้คุณสมบัติการดูดซับเสียงเปลี่ยนไป
5.แสงสำหรับเวทีการแสดง
แสงสำหรับใช้ในเวทีการแสดงเพื่อสร้างบรรยากาศ
และสร้างเทคนิคพิเศษต่างๆที่เปลี่ยนไปตามเทคนิคการออกแบบ และเทคนิคการแสดง
ตำแหน่งวางโคมไฟต้องเป็นไปตามเนื้อเรื่อง และบรรยากาศที่ต้องการ
จึงไม่สามารถกำหนดตำแหน่งต่างๆของดวงไฟได้อย่างแน่นอน ดังนั้นการออกแบบจึงต้องกำหนดบริเวณติดตั้งดวงไฟให้ครอบคลุมเนื้อที่การแสดงให้มากที่สุด
และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ในการใช้งานได้
ตำแหน่งของดวงไฟที่ส่องลงมาจากเพดานจะอยู่เหนือเพดาน
โดยมีช่องเปิดสำหรับให้แสงผ่านเข้าสู่ฉากหรือเวที
ดวงไฟเหล่านี้จะต้องสามารถเปลี่ยนสี ชนิดและตำแหน่งได้
อุปกรณ์ที่ติดตั้งดวงไฟเหล่านี้คือ Lighting Bridges ซึ่งเป็นแนวยาวกับแนวทางเดิน
ส่วนทางด้านหลังเป็นส่วนสำหรับควบคุมดวงไฟทั้งในการปิด เปิด
หรือการความคุมปริมาณความเข้มแสง
6.
ระบบการให้เสียงจากลำโพง
ลำโพงเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ
เพราะเป็นแหล่งที่ให้กำเนิดเสียงโดยตรง โดยตำแหน่งการติดตั้งลำโพงโดยทั่วไปมี 3
ระบบ คือ
1.Distributed System เป็นการติดตั้งอุปกรณ์เสียงที่กำเนิดเสียงทางด้านส่วนบน
2.Centrally
Located System เป็นการติดตั้งและให้เสียงทางด้านข้าง
3.Stereophonic
System เป็นการติดตั้งและให้เสียงลำโพงเป็น
2จุดหรือมากกว่านั้นรอบเวที
ตำแหน่งและวิธีในการติดตั้งนี้
ไม่มีหลักการหรือตำแหน่งตายตัว โดยการทำงานอาจจะใช้หลายระบบผสมกัน
หรือมีการให้เสียงจากตำแหน่งอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสมซึ่งจะได้อารมณ์ที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาพของสถานที่ ซึ่งวิศวกรรมทางด้านเสียง
จะต้องทำงานควบคู่กับสถาปนิก
เพื่อให้การติดตั้งระบบเสียงที่ได้ผลในการฟังและในด้านความสวยงาม
7.ระบบบริหารอาคาร ( Building
Management System )
เป็นการใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหาร
และทรัพยากรของอาคาร จากส่วนกลาง
ซึ่งช่วยสร้างประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมให้ดีมากยิ่งขึ้น
1.การบริหารสิ่งอำนวยความสะดวก
และการบริหารงานซ่อมบำรุง ( Facility &
maintenance Management) ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ
2.ระบบควบคุมการใช้พลังงาน ( Energy
management) ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานของอาคาร โดยจะบริหารให้ได้ประโยชน์สูงสุด
โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด
3.ระบบรักษาความปลอดภัย ( Security
Management )ทำหน้าที่ตรวจตรา
และตรวจสอบ การเข้า-ออกอาคารของบุคคลประเภทต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ ตั้งแต่
ระบบควบคุมทางเข้า-ออก (Access Control) ,อุปกรณ์ตรวจสอบความร้อน ,กล้องวงจรปิด
,ระบบตรวจสอบการเคลื่อนไหว ฯลฯ
โดยจะต่อสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนกลาง
ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
4.ระบบบริหารสายสัญญาณ ( Cable
Management)
สายสัญญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ซึ่งการวางระบบสายสัญญาณจะไม่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
แต่จะเกิดขึ้นค่อยเป็นค่อยไปในระหว่างการใช้อาคาร
ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนชนิดและตำแหน่งของอุปกรณ์
เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาในอาคาร
ซึ่งจะใช้โปรแกรมเก็บข้อมูลการวางสายสัญญาณของอาคารทั้งหมด เพื่อช่วยในการวางแผน
แก้ไขเพิ่มเติมสายสัญญาณต่างๆ ในอนาคต
5.ระบบบริหารความปลอดภัยของผู้ใช้งาน(Occupant
Safety Management )
ทำหน้าที่ควบคุมระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบดับเพลิง ระบบอัดอากาศ และระบายควัน
โดยการทำงานจะประสานกันทั้งหมด เพื่อให้ระบบการป้องกันภัยมีประสิทธิภาพสูงสุด
8.โครงสร้างอาคาร ( Building
Structure)
การใช้โครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูง
(Structure Design whit Flexibility) ควรใช้โครงสร้างที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย
โดยเฉพาะการเดินท่อ เพื่อร้อยสายสัญญาณเพิ่มในภายหลัง
1.ระบบผนังอาคารภายนอก
(External Skin System) ระบบผนังอาคารที่ดี
ควรตอบสนองและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานอาคาร
2.ระบบพื้นยก ( Raised Floor System หรือ Access Floor System)
การใช้ระบบพื้นยกมีความจำเป็นสำหรับอาคารมาก
เพราะมีการเดินสายสัญญาณงานระบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น